Monday, February 2, 2009

ไส้อั่วปุ๋ย

ในปีหนึ่ง ๆ เกษตรกรมีค่าใช้จ่ายในการใช้ปุ๋ยเคมีที่สูง เนื่องมาจากเกษตรกรส่วนใหญ่จะใช้วิธีการใส่ปุ๋ยโดยการหว่าน โรยเป็นแถว หรือรองหลุม จากการศึกษาวิจัยพบว่าการให้ปุ๋ยลักษณะนี้พืชนำเอาไปใช้ได้เพียง 20-30% เท่านั้น
ที่เหลือก็สูญเสียโดยไหลไปกับน้ำที่รด หรือถูกชะล้างไป ปุ๋ยบางชนิดที่ใช้หว่านบนแปลงพืช เมื่อถูกแสงแดดบางส่วนก็จะระเหิดไปในอากาศ ทำให้ปุ๋ยส่วนใหญ่สูญเสียไป และพืชก็ไม่ได้รับธาตุอาหารอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งมีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช

สำหรับวิธีการใช้ปุ๋ยอย่างมีประสิทธิภาพนั้นควรทำให้ปุ๋ยค่อย ๆ ละลายออกมา พืชจึงจะนำไปใช้ได้อย่างเต็มที่ ซึ่งปัจจุบันก็มีปุ๋ยชนิดละลายช้า ซึ่งมีราคาแพงกว่าปุ๋ยละลายเร็วที่ใช้กันอยู่ทั่วไปเกือบ 10 เท่า
ด้วยเหตุนี้หน่วยวิจัยสรีรวิทยาเพื่อการผลิตพืช สถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จึงได้คิดค้นวิธีการควบคุมการละลายของปุ๋ยให้ช้าลง รูปแบบการใช้ปุ๋ยแบบใหม่นี้เรียกว่า
“ไส้อั่วปุ๋ย” โดยการบรรจุปุ๋ยเคมีแบบละลายเร็วลงในเยื่อถุงเซลลูโลส (ไส้เทียม)
ที่ใช้ในการทำไส้กรอกมาควบคุมการละลายของปุ๋ยให้ค่อย ๆ ปลดปล่อยธาตุอาหารพืช
ออกมาอย่างช้า ๆ ทำให้พืชได้รับธาตุอาหารอย่างต่อเนื่อง
โดยขั้นตอนการทำไส้อั่วปุ๋ยมีวิธีการดังต่อไปนี้

ขั้นตอนการทำไส้อั่วปุ๋ย















1. วัดความยาวของไส้เทียมตามต้องการ (ต้นไม้กระถาง 10-15 ซม. ต้นไม้ขนาดใหญ่ 80-100 ซม.)















2. เจาะรูเข็มหมุดบนไส้เทียม 1-2 รู ต่อความยาวไส้เทียม 1 ซม.
















3. มัดปลายไส้เทียมด้วยเชือกให้แน่น


4. บรรจุปุ๋ยเคมีสูตรที่ต้องการลงในไส้เทียม อย่าให้แน่นเกินไป

จะทำให้ไส้เทียมแตกได้ง่าย













5. เมื่อบรรจุเต็มแล้ว มัดปลายไส้เทียมอีกด้านให้แน่น (ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หนัก 200 กรัมบรรจุได้ ในไส้เทียมยาว 100 ซม.















6. ไส้อั่วปุ๋ยบรรจุเสร็จสมบูรณ์ (ความยาว ของเส้นปุ๋ยขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการนำไปใช้)

7. นำเอาไส้อั่วปุ๋ยไปใส่ในกระถางต้นไม้ หรือฝังลงดิน หรือกลบ
เพื่อไม่ให้ปุ๋ยถูกแสงแดดได้ตามต้องการ


สำหรับเทคนิคนี้ง่าย สะดวก สามารถทำเองได้ และสามารถทำให้เกษตรกรลดต้นทุนการผลิตลงได้ โดยปุ๋ยไส้อั่วแต่ละเม็ดสามารถให้ธาตุอาหารแก่พืชอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 1 – 2 เดือน จากนั้นไส้เทียมก็จะสลายตัวไปในดิน วิธีการนี้ทำให้เกษตรกรสามารถประหยัดปริมาณการใช้ปุ๋ยได้ถึง 1 ใน 10 หรือ 1 ใน 5 ช่วยให้ลดต้นทุนการผลิตลงได้

No comments: